เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
5.อาปัตติภยวรรค 1.สังฆเภทกสูตร

5. อาปัตติภยวรรค
หมวดว่าด้วยอาปัตติภัย
1. สังฆเภทกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์

[243] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
อธิกรณ์1ระงับแล้วหรือ”
ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อธิกรณ์นั้นจะระงับแต่ที่
ไหน สัทธิวิหาริกชื่อว่าพาหิยะของท่านพระอนุรุทธะมุ่งจะทำลายสงฆ์ฝ่ายเดียว เมื่อ
พระพาหิยะยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ท่านพระอนุรุทธะก็ยังไม่พูดอะไรสักคำเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เมื่อไร อนุรุทธะจะจัดการชำระอธิกรณ์ใน
ท่ามกลางสงฆ์ อธิกรณ์ใดก็ตามที่เกิดขึ้น เธอทั้งหลายกับสารีบุตรและโมคคัลลานะ
จะต้องชำระอธิกรณ์ทั้งหมดนั้นให้ระงับไปมิใช่หรือ
อานนท์ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ 4 ประการนี้ จึงยินดี
การทำลายสงฆ์
อำนาจประโยชน์ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุผู้เลวทรามในธรรมวินัยนี้เป็นคนทุศีล2 มีธรรมเลวทราม ไม่
สะอาด3 มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [5.ปัฐจมปัณณาสก์]
5.อาปัตติภยวรรค 1.สังฆเภทกสูตร

สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่า
เป็นพรหมจารี1 เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ2
เธอคิดกังวลอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราเป็นคนทุศีล มี
ธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการ
งานปกปิด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี
แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือน
หยากเยื่อ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย3 แต่ถ้าแตกแยกกัน
จักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์
ที่ 1 นี้จึงยินดีการทำลายสงฆ์
2. ภิกษุผู้เลวทรามเป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐิ4
เธอคิดกังวลอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐิ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย
แต่ถ้าแตกแยกกัน จักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อ
เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ 2 นี้ จึงยินดีการทำลายสงฆ์
3. ภิกษุผู้เลวทรามเป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เธอ
คิดกังวลอย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราเป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ